Yardi Kube: A single connected platform for flexible workspace management
Yardi Kube

By Anna Cashman - วันอาทิตย์, 02 ธันวาคม 2555

เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา North Rhine-Westphalia เคยเป็นศูนย์กลางของขบวนการ coworking ในประเทศเยอรมนี แต่เมื่อไม่นานมานี้ ความนิยมของ coworking ได้ลดลงไปมากในภูมิภาคนี้ Peter Schreck หนึ่งในผู้ริเริ่มและแรงขับดันหลักของ coworking ในประเทศเยอรมนี เขาเล่าให้ Deskmag ฟังเกี่ยวกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นนี้

Peter ไม่ได้แค่เพียงร่วมผู้ก่อตั้ง Gasmotorenfabrik ในเมือง Cologne-Deutz แต่ยังเป็นผู้เริ่มดำเนินการองค์กรร่มชื่อ 'Coworking Cologne' และ 'Coworking Germany' ในฐานะที่เป็นทั้งผู้เชื่อมโยงและผู้สนับสนุน coworking เขาจึงพยายามเชื่อมประสานคอมมิวนิตี้ของ coworking โดยให้การสนับสนุนและผลักดันความเคลื่อนไหวนี้มาโดยตลอด

‘ผมพยายามทดลองกระแสโดยนำ coworking มาใช้ในภูมิภาคนี้ดู ซึ่งก็ดูไปได้ด้วยดีอยู่ช่วงหนึ่ง และมันไม่ได้แค่เชื่อมโยงระหว่างผู้ดำเนินการ space แต่รวมไปถึงเหล่าผู้ใช้บริการด้วย แต่ทันใดนั้น กระแสก็หายไป ไม่มี coworking space เปิดใหม่มาซักพักหนึ่งแล้ว’

หลัง coworking space แห่งที่ 4 ในเมือง Cologne เปิดตัวเมื่อเดือนมกราคมปีนี้ น่าแปลกใจที่ทำให้ขบวนการ startup ในพื้นที่รู้สึกไม่พอใจ

พวกเขาบอกว่าตอนนี้มีตัวเลือกมากเกินไปแล้ว!’ Peter กล่าว ‘พวกเขาคิดต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง (เมื่อเทียบกับคนทำงานอิสระ) พวกเขามองในฐานะผู้ร่วมลงทุนที่ต้องการหาสถานที่เพื่อมองหาการลงทุนใหม่ ๆ เขากังวลว่าผู้ร่วมลงทุนจะไม่มีศูนย์กลางในการหาคนเก่งมีฝีมือ คือพวกเขายังไม่เข้าใจว่านี่คือวิธีการทำงานแบบใหม่’

อีกปัญหาที่ Peter เอ่ยถึงคือความต้องการโดยรวม: ‘ถ้าหากมีคนซัก 10,000 คน ยกมือเรียกร้องขอ coworking คนอื่น ๆ ก็จะหันมาสนใจฟังกัน’ เขาเล่า ในวันนี้ แนวคิดยังค่อนข้างแปลกใหม่มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองเล็ก ๆ เมื่อมีผู้ที่มีศักยภาพเป็นสมาชิกมาที่ coworking space พวกเขามักจะขอห้องทำงานส่วนตัว ดังนั้นจำนวน coworking space จึงอยู่กับที่ แต่ความสนใจหลักยังคงเป็นสถานที่ทำงานที่ได้ทำงานร่วมกัน ในขณะที่ที่อื่นไม่ได้เป็นแบบนี้

นิตยสารออนไลน์ Deskmag ได้ไปเยี่ยม space 7 แห่งใน 4 เมืองเพื่อให้เห็นภาพรวมของสถานการณ์ในเมือง North Rhine-Westphalia:

ที่ Gasmotorenfabrik ซึ่งก่อตั้งในปี 2010 เป็น coworking space เพื่อทำงานร่วมกัน อยู่ในปีกงานบริหารของโรงงานผลิตรถยนต์เก่า พื้นที่เปิดกว้างและหน้าต่างบานใหญ่ทั้ง 2 ด้านของตึก เปิดให้เห็นวิวสวยในพื้นที่อุตสาหกรรมเก่า

ที่นี่เป็นที่อยู่ของสมาชิกราว 20 คน ซึ่งส่วนมากทำงานให้กับบริษัทซอฟท์แวร์ชื่อ Railslove ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายการดำเนินธุรกิจรายเดือนและเป็นผู้จัดเวิร์กช็อปชื่อ Rails Girls เป็นแห่งแรก (เป็นโปรแกรมที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายที่สอนให้ผู้หญิงเขียนโค้ด) ในเมือง Cologne นอกจากนี้ยังมีห้องทำงานของจิตรกรตั้งอยู่ถัดไปไม่ไกล และ fablab ชื่อ Dingfabrik แบ่งพื้นที่บนชั้นเดียวกันอยู่ด้วย ซึ่งสมาชิกของที่นี่สามารถมาเจอกันด้านนอกเหนือบันไดเพื่อมาเล่นฟุตบอลโต๊ะกัน

space นี้มักทำงานร่วมกับ coworking space แห่งอื่นด้วย เช่น Betahaus เมื่อจัดงาน Coworking Cup

Betahaus Köln นั้นไม่ต่างจาก space รุ่นพี่พี่ที่ตั้งอยู่ในเมือง Berlin เลย: การตกแต่งเป็นแนวศิลปะด้วยของตกแต่งจากหลาย ๆ ที่ รวมถึงมีหนุ่มสาวแนว ๆ เป็นผู้ดูแลที่บาร์และบริเวณต้อนรับ ที่นี่มีสมาชิก 75 คนและโต๊ะ 40 ตัว ที่ betahaus จึงเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมต่าง ๆ ผู้ร่วมก่อตั้งทั้งสอง Anna และ Anu หวังว่าที่นี่จะวุ่นวายขึ้นกว่านี้ โดยกำลังต่อรองขอพื้นที่ตรงกันข้ามบนชั้นเดียวกันนี้อยู่

เมื่อเดินไปรอบ ๆ เหล่าสมาชิกก็เป็นมิตรเหมือนกับที่นู่นเช่นกัน ที่นี่จัดวางโต๊ะประจำและโต๊ะแบบแชร์ให้ตั้งอยู่ข้าง ๆ กันเพื่อที่สมาชิกขาประจำจะได้เจอเพื่อนใหม่ทุกวัน

ถึงจะตั้งอยู่ในตึกสำนักงานหลายชั้น betahaus ก็สามารถทำให้ทั้งตึกมีพลังและชีวิตชีวาได้ เพื่อนบ้านจากชั้นอื่นมักรวมตัวกันอยู่ที่คาเฟ่ชั้นล่าง ส่งผลให้เป็นไปตามลักษณะเด่นของธุรกิจนี้ Una และ Anna จะผลัดกันดูแลโต๊ะต้อนรับในห้องโถงกลางเพื่อต้อนรับและทำความคุ้นเคยกับแขกทุกคนที่มา

‘สำหรับเราแล้ว สำคัญมากที่จะต้องเป็นคนเปิดเผยและเป็นมิตร เมื่อต้องอยู่หน้าประตูทางเข้าเพื่อต้อนรับแขกที่มาและสร้างบรรยากาศดีดี’ Anna กล่าว

Solution Space เป็น coworking space เล็ก ๆ ที่มีเพียง 14 โต๊ะ เพิ่งเปิดเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา space นี้ตั้งอยู่ตรงข้าม Brüsselerplatz ศูนย์กลางแสงสียามค่ำคืนของ Cologne พอดิบพอดี ที่นี่เป็นมากกว่าแค่สถานที่ทำงาน เจ้าของทั้ง 2 คน Stefanie และ Sebastian ทำทุกทางเพื่อเชื่อมโยงเหล่าสมาชิกเข้าหากันและช่วยสนับสนุนโปรเจ็กต์ของพวกเขาในทุกด้านที่ทำได้

‘เป้าหมายของเราคือช่วยสนับสนุนคนทำงานอิสระและ startups’ Sebastian อธิบาย ‘และถ้าเราช่วยเองไม่ได้ เราก็จะหาคนที่ทำได้มาช่วยเหลือพวกเขา’

พวกเขาทำงานให้กับสมาชิกแต่ละคนและนั่งทำงานอยู่ที่โต๊ะประจำของทั้งสอง ที่นี่ไม่มีผู้จัดการของคอมมิวนิตี้ แต่จริง ๆ แล้วก็คงไม่จำเป็นต้องมี เพราะสมาชิก 30 คนที่นี่รู้จักกันอยู่แล้ว

‘พวกเขารู้จักชื่อ, อาชีพ, โปรเจ็กต์ของทุกคนหรือแม้แต่วันเกิดของบางคนด้วยซ้ำ’ Stefanie หัวเราะ เธอเข้าใจโลกการทำงานอิสระและความต้องการมีเส้นสายในวงการเป็นอย่างดี เพราะทำงานอิสระมากว่า 10 ปีแล้ว

ต้นแบบของที่นี่ดำเนินไปได้ดีและกำลังวางแผนเปิดอีกทีหนึ่งสิ้นปีนี้

แต่สำหรับ Kölner Zeitraumeเส้นทางไม่ได้ประสบความสำเร็จเช่นนั้น แม้ว่าจะเปิดให้บริการมาหลายปีแล้วแต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมหรืออย่างน้อยก็มีรายได้ไม่พอค้ำจุน space

‘เราต้องลดขนาดลง’ ผู้จัดการชื่อ Sebastian Kaufmann กล่าว ‘เราเคยมีทั้ง coworking space, โรงยิมและโรงเรียนอนุบาล แต่เรามีค่าดำเนินการทางธุรกิจสูงกว่ารายรับ เพราะคนไม่ค่อยชอบหรือไม่เข้าใจแนวคิดนี้เท่าไหร่นัก’

Kölner Zeitraume จึงตัดสินใจลดขนาดธุรกิจลงเหลือเพียงสำนักงานส่วนตัวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการจัดประชุมซึ่งตั้งอยู่บริเวณชานเมือง โดยมีบริษัทเช่าสำนักงานที่นี่อยู่ 7 แห่งซึ่งทั้งหมดอาศัยอยู่รอบ ๆ บริเวณไม่ไกลนัก

นั่งรถไฟถัดไปอีก 1 ชั่วโมง คุณจะได้พบกับ GarageBilk ซึ่งเป็น coworking space แห่งแรกในเมือง Düsseldorf ที่ตั้ง อยู่ในโรงรถเก่า ห่างออกไปจากถนนที่วุ่นวาย ทำให้ที่นี่เป็นที่หลบหนีจากความวุ่นวายในย่านเมืองได้เป็นอย่างดี

GarageBilk มีพื้นที่อยู่ 3 ส่วน: coworking space, สำนักงานของ startup และ fab-lab ซึ่งไม่หวังผลกำไรและเริ่มขึ้นโดยแยกออกมาเป็นสมาคม แต่ก็มีสมาชิกสมัครซ้อนทับกันอยู่บ้าง

‘เราจะมี coworking space 2 จุดเลยก็ได้’ Oliver Vaupel ผู้จัดการของที่นี่เอ่ย ‘แต่คนมักจะขอจองสำนักงานส่วนตัวด้วย เราก็เลยต้องทำ’

ที่นี่จัดงานอีเวนต์อยู่บ่อย ๆ (แม้ว่าจำเป็นต้องย้ายเฟอร์นิเจอร์ออกจากห้องก็ตาม) และแต่ละเดือนจะจัดมื้อเช้าให้ นอกจากนี้ หนึ่งในผู้ก่อตั้งยังได้ริเริ่มให้มีวันแห่งความยั่งยืนของ Düsseldorf ด้วย

ปีกสำนักงานแบบส่วนตัวก็ไม่ได้ถูกละเลยในเรื่องของการออกแบบ โดยมีประตูกรุกระจกแก้วสีสันต่าง ๆ ทำให้เกิดเป็นแสงสายรุ้งออกไปตรงระเบียง

สถานที่ทำงานร่วมกันอีกแห่งที่มีแนวคิดต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงเปิดตัวขึ้นแถบชานเมืองของ Düsseldorf K-LAN ถูกเรียกว่าเป็น coworking แต่ไม่ใช่ในแนวที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ ที่นี่จะเชิญคนทำงานอิสระมาทำงานบริเวณชั้นล่างของตึกสูงในย่านชานเมืองนี้ ส่วนบริษัทที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและไอทีจะเช่าพื้นที่ทำงาน นี่ก็เพื่อสร้างให้ทั้ง 2 วงการมาพบกับครึ่งทาง K-LAN กำลังจะดำเนินแผนการตลาดอย่างหนักในไม่ช้านี้ ต้องการกระตุ้นให้คนที่ทำงานอิสระมาที่นี่ เพื่อพบผู้คนซึ่งอาจกลายเป็นลูกค้าของพวกเขา ส่วนบริษัทที่กำลังมองหาคนมีฝีมือก็สามารถมาที่นี่ได้เช่นกัน

coworking space หนึ่งเดียวใน Dortmund เป็นของ Ständige Vertretung ซึ่งเปิดเป็นธุรกิจเสริมจากบริษัทอีเวนต์และเครือข่ายที่เปิดมานานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2011  ประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับนิทรรศการ งานฉลองและการออกแบบทำให้ coworking ลงตัวกับเอกลักษณ์ของบริษัทเป็นอย่างดี

coworking space นี้กินพื้นที่เล็กๆบนชั้น 1 ซึ่งน้อยกว่าที่หวังไว้ตอนแรก แต่ก็จำเป็นต้องมีเพราะก็เหมือนกับ space อื่นๆใน North Rhine-Westphalia ที่ลูกค้ามักถามหาที่ทำงานส่วนตัว ด้วยเหตุนี้ด้านปีกขวาจึงเป็นบริเวณสำหรับสำนักงานส่วนตัวทั้งหมด แต่บริษัทที่ทำงานที่นั่นก็ยังต้องติดต่อบริษัทอื่น ๆ ในละแวก รวมถึงคนทำงานอิสระในห้องโถงด้วยเช่นกันและก็มักใช้บริการของกันและกันอยู่เสมอ

เหล่าสมาชิกยังสามารถได้ประโยชน์จากเส้นสายและการได้รับเชิญร่วมงานอีเวนต์ที่ Ständige Vertretung จัดขึ้นอีกด้วย ทั้งงานแสดงสินค้า ตลาดนักออกแบบและเวิร์กช็อปต่าง ๆ เมื่อไม่นานมานี้ พวกเขาจัดงาน pop-Design festival ร่วมกับสภาเมือง Cologne ซึ่งให้โอกาสเหล่าสมาชิกได้ร่วมกันจัดคอนเสิร์ตและเวิร์กช็อปต่าง ๆ ด้วย

Coworking space นี้ตั้งอยู่ในย่านที่กำลังไปได้ดีในวงการครีเอทีฟ ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยสภาเมือง Dortmund โดยถือเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจ space ที่นี่เป็นมิตรกับสุนัขและสุนัขที่นี่ก็เป็นมิตรด้วยเหมือนกัน

Utopiastadt แปลได้ตามตัวว่า Utopia State หรือรัฐในอุดมคติ coworking space นี้ตั้งอยู่ในสถานีรถไฟเก่าในเมือง Wuppertal แต่ที่นี่ไม่ใช่ coworking space ทั่วไป สิ่งอำนวยความสะดวกแบบ space ทั่วไปที่เตียมไว้ให้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของภาพที่ใหญ่กว่านั้น นั่นคือการสร้างสังคมในอุดมคติที่ยึกมั่นในความเท่าเทียมและเปิดเผย โปรเจกต์ Utopiastadt เริ่มขึ้นจากในนิตยสารเมื่อปี 2007 และร่วมลงในฉบับที่มีหัวข้อเดียวกันนั่นคือ สังคมในอุดมคติเมื่อปี 2010 หลังพิมพ์ไปหลายครั้ง คณะกรรมการจึงตัดสินใจว่าควรลงมือทำจริง ๆ เสียที แทนที่จะรายงานเพียงข้อมูล

‘เราเขียนเกี่ยวกับ รัฐในอุดมคติ’ Christian Hampe อีกหนึ่งหัวคิดของโปรเจ็กต์นี้กล่าว ‘แต่เราก็ตัดสินใจว่าแค่เขียนมันไม่พออีกแล้ว แต่เราต้องพยายามทำขึ้นมาให้เป็นจริง’

และ โปรเจ็กต์ Utopiastadt ก็ได้เกิดขึ้น ทีมหลักประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 12 คน มีหน้าที่ดูแลสถานีรถไฟเก่าจากธนาคารให้เป็นสถานที่ทางวัฒนธรรมและแปลงโฉมตึกร้างทรุดโทรมให้กลายเป็น coworking space, สำนักงาน, สตูดิโอเต้นรำ, คาเฟ่ที่กำลังจะเปิด, และบริเวณจัดงานอีเวนต์ พูดได้ว่าตึกนี้ซ่อมแซมออกมาได้อย่างดีเลิศ

บริเวณ coworking space ดูแลโดยบริษัทออกแบบชื่อ Clownfisch ซึ่งเป็นบริเวณสำคัญของอาคารงดงามแห่งนี้

‘ที่นี่เป็นสถานที่เพื่อความสร้างสรรค์ที่พวกเราคิดเกี่ยวกับสังคมในอุดมคติและวิถีทางใหม่ ๆ ในการจัดระเบียบสังคม, การเมืองและวัฒนธรรม Coworking ถือเป็นส่วนสำคัญเพราะมันเป็นพื้นที่เปิดและสามารถสื่อสารได้อย่างอิสระ เป็นที่ที่มาพบปะกัน เชื่อมโยงกับคนอื่น เปิดความคิดของเราให้กว้างขึ้น เป็นพื้นที่เปิดให้เราเปิดใจให้กว้าง’

สมาชิกถาวรมีค่าสมัครรายเดือนต่ำ แต่ตั๋วรายวันนั้นฟรี (พวกเขาไม่อยากจัดการกับเรื่องหยุมหยิมพวกนี้) นอกจากจะเป็นคอมมิวนิตี้และสถานที่ทำงานแล้ว ที่นี่ยังเตรียมกาแฟและอุปกรณ์สำนักงานไว้ให้ด้วย โดยสามารถร่วมลงขันบริจาคได้ในขวดโหลใบใหญ่

นี่ถือเป็นโปรเจกต์แรกที่เกิดขึ้นโดย Nordbahntrasse ซึ่งดูแลบริหารโดยสภาท้องถิ่นเพื่อสร้างทางสำหรับจัรยานและคนเดินเชื่อมระหว่าง 3 เมือง ซึ่งเมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วจะทำให้ทั้งภูมิภาคกลับมามีชีวิตและเต็มไปด้วยพลัง

:: Ad ::

สามารถหาและจอง coworking space ใน North Rhine-Westphalia โดยเข้าไปที่ Deskwanted

:::

Do walls block collaboration?

Multi-centered coworking in Germany's heartland

ssfCoworking Statistics

Startpage