Yardi Kube: A single connected platform for flexible workspace management
Yardi Kube

By Carsten Foertsch - วันจันทร์, 26 พฤศจิกายน 2555

ความคิดก็อย่างหนึ่ง แต่การกระทำก็เป็นอีกเรื่อง The Hive ใน Vancouver กำลังทดลองแผนการลงมือให้ไอเดียเป็นเรื่องจริง พวกเขาเรียกว่า Hive Mind Tara Geach แห่ง the Hive โดยได้อธิบายว่า “มันเป็นการนำทรัพยากรมนุษย์ที่มีมาช่วยแก้ปัญหาทางธุรกิจและสังคม”

แนวคิดดังกล่าวเริ่มต้นมาจาก  การมีปัญหาที่ต้องแก้,  การตกอยู่ในสถานการณ์ที่หาทางออกไม่ได้ หรือโปรเจ็กต์เสร็จช้า สมาชิกของ Hive จึงได้รับเชิญให้เข้าร่วมใน ‘Jam’ ที่ซึ่งจะมีทั้งการถกปัญหาและระดมความคิดกัน หาก ฟังผิวเผินก็จะคล้ายที่ Plug แต่ Hive Mind ไปไกลกว่านั้น โดยจะมีการประชุมเพื่อติดตามไอเดียนั้น ๆ และทำเป็นข้อเสนออย่างเป็นรูปธรรมพร้อมมีการวางแผนปฏิบัติงาน ที่ซึ่งแผนปฏิบัติงานนี้จะนำเสนอกลับไปยังเจ้าของผู้เริ่มต้นไอเดีย มากกว่านั้น สมาชิกคนอื่นที่ Hive ยังมีส่วนร่วมทำข้อเสนอเหล่านี้ให้เสร็จลุล่วง ส่งผลให้สมาชิกแต่ละคนมีงานเพิ่มขึ้น กระบวนการทำงานที่มีขั้นตอนมากมายไม่ว่าจะเป็นการเสนอไอเดียที่หลากหลาย, การประชุมติดตามผล, เขียนแผนปฏิบัติงานและประกาศใช้ ทั้งหมดก็เพื่ออัดลมผลักใบเรือแห่งแนวคิดที่เรียบเฉยส่งให้ไอเดียนั้นไปไกลมากขึ้น

ปัจจุบัน the Hive มีกลุ่มคนนอกติดต่อเข้าร่วมการประชุมย่อย Hive Mind มากมายเพื่อทำให้ความคิดของพวกเขาเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ทั้งกลุ่มโรงละครเยาวชนในพื้นที่ต้องการคำแนะนำสำหรับเปิดร้านอาหารเล็ก ๆ และมูลนิธิศิลปะที่ต้องการหาแนวคิดใหม่ ๆ ในการระดมทุน แต่ Tara ได้แบ่งปันข้อคิดว่า the Hive เพิ่งเปิดให้บริการเมื่อเดือนมิถุนายน 2011 และยังอยู่ในช่วงปรับตัวจึงยังไม่พร้อมที่จะดูแลปัญหาคนอื่น ด้วยเหตุนี้การประชุมย่อย Hive Mind จึงให้ความสนใจกับปัญหาภายในก่อน เช่น ทำอย่างไรจึงจะใช้สอยพื้นที่ทำงานได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด ทำอย่างไรจึงจะดึงสมาชิกที่เหมาะสมเข้ามาและปัญหาภายในอื่น ๆ ทั้งนี้สมาชิกที่มาเข้าร่วมการประชุมย่อยนี้จะได้รับส่วนลดค่าเช่าโต๊ะและห้องประชุมเพื่อเป็นการตอบแทน

Hub Melbourne – รวมกลุ่มเหล่าเอเจนซี่

ส่วน Hub Melbourne ก็กำลังพัฒนาไปในทิศทางคล้าย ๆ กัน โดยเจ้าของชื่อ Brad Krauskopf  คิดจะเปลี่ยนสเปซให้กลายเป็นที่ให้คำปรึกษาด้านความคิดสร้างสรรค์ สมาชิกที่อยู่ใน Hub จะได้รับเชิญมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการประชุมย่อยซึ่งธุรกิจหรือเอเจนซี่ข้างนอกจะมาเสนอโปรเจ็กต์เพื่อฟังเสียงตอบรับ เหล่าสมาชิกก็จะใช้ทักษะและประสบการณ์ที่หลากหลายของตนเพื่อช่วยวิเคราะห์โปรเจ็กต์นั้น ๆ

ส่วนเรื่องวิธีชำระค่าบริการสำหรับเอเจนซี่ข้างนอกและการตอบแทนสมาชิกที่เข้าร่วมยังอยู่ในช่วงการทดลอง แต่แบรดกำลังเดินหน้าต่อกับแนวคิดของเขา โดยสร้างการเชื่อมโยงระหว่างสมาชิกที่กว้างขึ้นรวมทั้งเปิดรับความสนใจในด้านต่างๆ

 Plug – การทำงานร่วมกันอย่างมีเป้าหมาย

เมื่อไม่กี่เดือนมานี้เราได้เขียนเกี่ยวกับ Plug ซึ่งเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในอัมสเตอร์ดัม โดยใช้เครือข่ายผู้ทำงานอิสระให้มารวมตัวและระดมสมองเพื่อจัดการประเด็นปัญหาต่างๆ โดยผู้เข้าร่วม Plug จะได้รับเชิญให้มาพบกันที่สถานที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลาหนึ่งวัน เพื่อให้ทำภารกิจของตนเองและพบปะกัน

ช่วงพักกลางวัน เจ้าภาพก็จะแจ้งปัญหาหรือประเด็นที่จะร่วมพูดคุยกันโดยมากก็มักจะเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกหรือท้าทายมาก ๆ ผู้เข้าร่วมงานก็จะพูดคุยเกี่ยวกับปัญหานั้น ๆ ระหว่างทานอาหารกลางวันโดยใช้ทักษะส่วนตัวของแต่ละคนกระตุ้นให้เกิดบทสนทนาหลากหลาย ท้ายที่สุดเมื่อหมดวัน เจ้าภาพจะได้รับเสียงตอบรับและความคิดเห็นมากมายเพื่อเป็นการตอบแทนที่จัดงานต้อนรับเหล่าสมาชิก Plug ในมื้อกลางวัน

 

ssfCoworking Statistics

Startpage