ความยืดหยุ่นของงานมาในหลากหลายรูปแบบ บางคนอาจจะชอบตั้งกฏกับความยืดหยุ่นนี้ด้วยการทำงานแค่จากที่บ้านเท่านั้น แต่อีกหลายคนเลือกที่จะคว้าโอกาสนี้แล้วใช้ความยืดหยุ่นอย่างเต็มที่และออกเดินทางตามความฝัน
Jimmi, Mike และ Larry เป็นนักธุรกิจ ที่ใช้ขอได้เปรียบของการ coworking ทั่วโลกและเทคโนโลยีการสื่อสาร แต่ละคนนั้นก็พบกับประสบการณ์และความหมายที่แตกต่างกันออกไป และนั่นก็เป็นสิ่งยืนยันว่า ไม่ว่าคุณอยากจะเที่ยวรอบโลกหรือพักอยู่แค่ที่เมืองใดเมืองหนึ่ง คุณก็สามารถทำทั้งงานและเที่ยวได้ในเวลาเดียวกัน
:::
นักท่องเที่ยวระยะสั้น - 3 เดือน
Jimmi Heiserman เป็นฟรีแลนซ์ดีไซน์เนอร์ด้าน flash web และเกม และเป็นผู้สร้างเกมออนไลน์ Quadradius เขาคุ้นเคยกับระบบ coworking อยู่แล้ว และก็เคยทำงานใน coworking space ต่างๆในอเมริกา เช่น Citizens Space ที่ San Francisco, Workabr ที่ Boston, Hive 4A ที่ Allentown Pennsylvania และ Indy Hall ที่ Philadelphia
เมื่อเดือนมกราคม 2012 Jimmi ตัดสินใจลองทดสอบถึงขีดจำกัดของความยืดหยุ่นในงานของเขา ด้วยการใช้ชีวิต 3 เดือนแบบ coworking ที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่ทั้งวัฒนธรรมและภาษาแตกต่างจากชีวิตที่บ้านโดยสิ้นเชิง สำหรับ Jimmi เอง เขารู้ว่าเป้าหมายในการเดินทางครั้งนี้มีอยู่ 2 อย่าง นั่นก็คือ การทำงานให้สำเร็จลุล่วงและสัมผัสชีวิตแบบโตเกียวและคนญี่ปุ่น เขารู้สึกว่า ถ้าเขาต้องใช้เวลาทำงาน 6-10 ชั่วโมงต่อวัน เขาก็อยากจะทำพร้อมไปกับคนอื่น และนั่นก็จะทำให้แม้แต่เรื่องเล็กๆอย่างมื้อกลางวันรู้สึกเหมือนเขากำลังอยู่ในช่วงลาพักร้อน
สุดท้ายแล้ว Jimmi พบว่า โตเกียวมีสังคม coworking ที่อบอุ่น และทำให้เขาพบเพื่อนใหม่ได้ง่ายและเร็วมาก Jimmi ได้รู้จักทั้งโปรแกรมเมอร์ นักธุรกิจ เจ้าของร้านอาหาร เจ้าของฟาร์มแตงกวา คุณครูสอนภาษาอังกฤษ คนในสายอาชีพพีอาร์ โปรดิวเซอร์ดนตรี และแชมป์โลกโยโย่ ในช่วงระหว่างที่เขา coworking
:::
นักท่องเที่ยวระยะยาว - 1 ปีขึ้นไป
Mike Rheaume เป็นนักธุรกิจ coworking แบบไร้สังกัด และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง SnapKnot เขาและแฟนกำลังจะเที่ยวยุโรปในปีหน้าระหว่างทำธุรกิจออนไลน์ตาม coworking space ต่างๆและพักอยู่ตามบ้านเช่า ระหว่างที่เขาแพลนทริปนี้ Mike คาดว่าจะใช้บริการ coworking space ต่างๆตลอดการเดินทาง เขาอธิบายว่า “มันช่วยพัฒนาวิธีการทำงานของผมไม่ว่าผมจะอยู่ที่ไหน ผมมักจะขยันกว่าเมื่อทำงานที่ coworking space มากกว่าที่บ้านหรือร้านกาแฟ และที่สำคัญเหมือนกัน คือการได้พบเพื่อนใหม่ ๆ เก่ง ๆ ที่กำลังทำงานในโปรเจกต์เจ๋ง ๆ ที่ผมไม่เคยรู้จักมาก่อน ผมว่าเป็นโอกาสที่ดีในการพบผู้คนในที่ใหม่ ๆ ”
:::
นักท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ
Larry Yu เป็นกรรมการผู้จัดการ และหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Kite Global Advisors และเดินทางระหว่าง Boston, Newyork และ London ตลอดเวลา เขาทำงานที่ coworking space ต่างๆ เช่น Grind ที่ New York City, Workbar ที่ Boston, และ The Cube ที่ London ทุกครั้งที่เขาเดินทาง Larry ก็มักจะหา coworking space ในเมืองนั้นๆ ถึงแม้ว่าเขาจะไม่มีโอกาสได้ใช้มันก็ตาม สำหรับ Larry แล้ว “การได้มีโอกาสเลือกที่จะ coworking เมื่อผมต้องปั่นโปรเจกต์ เป็นความรู้สึกที่ทำให้ผมรู้สึกอุ่นใจมากทีเดียวนะ ถึงแม้ว่าสุดท้ายแล้วผมไม่ต้องใช้มันก็เถอะ” Larry มักจะใช้ coworking space เพื่อทำงานระหว่างรอเข้าประชุม และระหว่างที่เขาต้องเดินทางยาวๆเป็นเดือนที่ลอนดอนเพื่องานและการพักผ่อน coworking space ก็สามารถทำหน้าที่แยกแยะระหว่างงานกับเวลาพักผ่อนได้เป็นอย่างดี
ค้นหา coworking space ต่างประเทศ
ก่อนที่ Jimmi จะย้ายไปอยู่ที่โตเกียวเป็นเวลา 3 เดือน เขาค้นคว้าเกี่ยวกับการ coworking อย่างเต็มที่ เขาใช้เว็บไซต์ภาษาอังกฤษ เพื่อดูราคา ทำเล ขนาด และวัฒนธรรม แล้วเขาก็ดูผ่านเว็บไซต์ภาษาญี่ปุ่นอีกที (ใช้ Google Translate แปลอีกที) เพื่อค้นคว้าในส่วนที่เหลือ เขาเขียนถึงเจ้าของ coworking space โดยใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษสั้นๆ และแนบประโยคแปลโดย Google Translate เพื่อให้การสื่อสารง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เขาขึ้นต้นข้อความที่แปลแล้วด้วย “แปลโดย Google” เพื่อให้ทางเจ้าของรู้ว่าเขาไม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาญี่ปุ่นได้ แต่พยายามอย่างเต็มที่ที่จะสื่อสารกับพวกเขา ถ้าไม่ขึ้นต้นด้วยอย่างนั้น เขากลัวว่าฝั่งคนญี่ปุ่นจะเข้าใจผิดนึกว่าเมาหรือตั้งใจแกล้ง
สำหรับ Mike แล้ว เมื่อเขาหา coworking space ในยุโรป ราคาเป็นเรื่องที่สำคัญ ปัจจัยอื่นนั้นก็มี เช่น การเข้าถึงตลอด 24 ชั่วโมงทั้งอาทิตย์ ระยะเวลาการเดินทางหรือระยะห่างจากระบบขนส่งสาธารณะ และสัญชาตญาณส่วนบุคคลซึ่งมาจากการสื่อสารกับเจ้าของ พนักงานที่พูดภาษาอังกฤษได้ก็ดีแต่นั่นไม่ใช่เรื่องใหญ่
Larry คิดว่าทำเลเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด สิ่งสุดท้ายที่เขาต้องการคือเสียเวลาในการสัญจรขณะที่เขาอยู่ต่างประเทศ ส่วนมากแล้วการเดินทางแต่ละครั้งของ Larry จะเป็นเพื่อธุรกิจ ดังนั้นเขาจะใช้บริการ coworking space เพียงนานๆครั้ง ระหว่างรอประชุมหรืองานทั่วๆไป เขาพบว่าการเป็นเจ้าภาพการประชุมที่ coworking space นั้นค่อนข้างยุ่งยาก เพราะปกติแล้วจะไม่สามารถรู้ได้ล่วงหน้าว่าห้องจะว่างหรือไม่ จากประสบการณ์แล้ว เขาคิดว่าการอยู่ระยะสั้นนั้นยากต่อการจัดการมากกว่าการอยู่ระยะยาว แต่ถึงแม้ว่ามันอาจจะยุ่งยากต่อการเป็นสมาชิกแบบเดือนเดียวมากกว่าแบบหลายเดือนในลอนดอน การใช้บริการแบบรายวันก็ยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี
:::
ตามหา coworking space ในเว็บ
เมื่อดูการค้นคว้าของ Jimmi ก่อนเดินทางแล้ว เขาคิดว่าที่โตเกียวจะมี coworking space เพียงไม่กี่ที่ แต่หลังจากนั้นเขากลับพบว่า เว็บไซต์ที่เขาหาในภาษาอังกฤษเป็นเพียงแค่แบบผิวเผินเท่านั้น เมื่อเขาเดินทางมาถึงแล้ว เขาพบว่ามันง่ายมากต่อการพบเครือข่ายรอบๆเมือง Jimmi บอกว่า “ผมก็คิดว่าถ้าผมถามเจ้าของเกี่ยวกับ coworking space ที่อื่น มันคงจะไม่เหมาะเพราะว่าพวกเขาคงจะเป็นคู่แข่งกัน แต่กลับกลายเป็นว่า coworking space แต่ละที่นั้นช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และผมก็ได้รับคำแนะนำไปยัง coworking space ต่างๆผ่านเหล่าเจ้าของ อย่างเจ้าของ Open Source Cafe เคยถึงกับเปิด Google Map ของเขาที่รวมร้อยกว่า coworking space ทั่วเมืองให้ผมดู”
Mike พบว่า coworking space ส่วนมากให้การตอบรับเป็นอย่างดี ให้ความช่วยเหลือ และเป็นมิตร ทั้งก่อนและหลังที่เขามาถึงสเปน ถึงแม้การใช้ Google Translate จะจำเป็นบ้างในบางกรณี แต่ก็ไม่ได้ทำให้อะไรยากขึ้น อย่างไรก็ตาม เขาออกตัวขอเตือนให้ทุกคนลองไปเช็คสถานที่ด้วยตัวเองก่อน เขาอธิบายว่า “ผมเจอบางที่กลายเป็นพื้นที่ร้างซะงั้น ทั้งๆที่ข้อมูลในเว็บก็แน่นและดูดี แต่เมื่อผมลองแวะไปดู มันกลับไม่มีตัวตนอยู่เลย อาจจะเป็นเพราะความกันเองของการทำงานแบบ coworking space ก็เลยทำให้เหมือนมี เปิด/ปิด/ย้าย ตลอดเวลา และเว็บบางทีก็ไม่อัพเดท ดังนั้นโทรหรืออีเมล์ก่อนล่วงหน้าด้วย!"
:::
อุปสรรค์ทางภาษา?
ทั้ง Mike และ Jimmi ต่างก็ไปอยู่ประเทศที่พวกเขาไม่รู้ภาษาและวัฒนธรรมประจำถิ่น ดังนั้นอุปสรรคภาษาคือสิ่งที่พวกเขาคาดการณ์ไว้ สำหรับ Mike เขาพบว่าส่วนมากแล้วจะตอบอีเมล์เป็นภาษาอังกฤษ แต่ coworking space ที่เขาชอบมากที่สุดนั้นบริหารโดยคู่แฟนที่ไม่ถนัดภาษาอังกฤษเลย ซึ่งสุดท้ายแล้วก็มีข้อดีเกี่ยวกับจุดนี้ “ถึงแม้จะมีอุปสรรคเกี่ยวกับภาษา แต่มันไม่่ใช่ปัญหาเลยนะ พวกเราใช้การสื่อสารผ่านอีเมล์สำหรับเรื่องหนักๆ (ขอบคุณ Google Translate) ส่วนเรื่องอื่นๆเราก็บวกภาษามือและก็รอยยิ้มเข้าไปด้วย มันช่วยให้ผมเก่งภาษาสเปนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นมันเป็นเรื่องที่ดีมาก!”
Jimmi เองก็มีประสบการณ์ที่ดีเกี่ยวกับอุปสรรคด้านภาษาและวัฒนธรรมในประเทศญี่ปุ่น เขาพบว่าการเป็นหนึ่งในผู้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีช่วยเขาได้ คนญี่ปุ่นหลายๆคนที่เขาได้พบระหว่าง coworking นั้น สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ไม่่ว่าจะมาจากการศึกษา ความจำเป็นเกี่ยวกับงาน หรือ มาจากความสนใจ การอยู่ในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นก็ย่อมหมายความว่ามีโอกาสที่จะพบคนพูดญี่ปุ่นมากกว่าเมืองอื่น จริงอยู่ว่ามีอุปสรรคด้านภาษา แต่การ coworking ก็ช่วยเขาให้ได้พบผู้คนที่มีความสนใจตรงกัน นิสัยสังคมคล้ายๆกัน และความร่วมมือกันหาวิธีการสื่อสารต่อกันและกัน ถึงแม้อาจจะต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์นิดนึงก็เถอะ
:::
โลกแห่งความจริง : การสื่อสารผ่านการโปรแกรมมิ่ง
Jimmi เล่าถึงเรื่องราวประทับใจจากประสบการณ์การก้าวกระโดดข้ามอุปสรรคสื่อสารกับเพื่อนโปรแแกรมเมอร์ต่างชาติ เขาเล่าว่า “ผมมีเพื่อนโปรแกรมเมอร์ชาวญี่ปุ่นคนนึงที่พูดภาษาอังกฤษน้อยมาก แต่เขียนโปรแกรมเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษามาตรฐานสำหรับโปรแกรมมิ่งทั่วโลก
ระหว่างที่ผมพยายามจะจัดงานวันเกิดของผมที่โตเกียว ผมเขียนถึงเขา:
ฉันจะไป ABC Mart ตอน 2 ทุ่ม เพราะว่าอาจจะมีแขกมาตอนนี้ อาจจะดื่มกันก่อน ถ้าจะมาก็มาช้าหน่อยก็ 3 ทุ่มที่ร้านอาหาร
คุณเข้าใจมั้ย? ถ้าอยากจะมาเร็ว เจอที่ ABC Mart ตอน 2 ทุ่ม ถ้ามาหลังจากนั้น ที่ร้านอาหาร 3 ทุ่ม
เขาตอบกลับมาว่า :
ภาษาอังกฤษฉันไม่ดี ไม่เข้าใจรายละเอียดที่คุณบอก ประมาณนี้?
$jimmi->gotoABCMart("20:00"); while(time() < "21:00"){ $jimmi->meet($someOne)->drink();}
$jimmi->gotoBistro(); $tao->gotoBistro("21:00");
และนั่นแหละ แผนงานปาร์ตี้ของผมก็สำเร็จลุล่วง!”
Coworking space แตกต่างอย่างไร
สำหรับ Mike ความแตกต่างหลักๆระหว่าง coworking space ต่างๆนั้น จะเป็นเกี่ยวกับจำนวนและความกระตือรือร้นของสมาขิกที่เขาจะต้องทิ้งไว้ที่อเมริกา เขายอมรับว่า ถึงแม้ coworking space แถบยุโรปจะค่อนข้างใหม่ เขาก็ยังไม่พบกลุ่มสังคมที่เขาคุ้นเคย เขาตั้งตาคอยที่จะค้นหา coworking space เพิ่มอีกในปีหน้า Mike บอกว่า “จริงอยู่ว่ามีฟรีแลนซ์ นักธุรกิจ และ startups อยู่มากใน Boston แต่นั้นไม่ใช่ประเด็นของที่นี่ (เท่าที่สังเกตมา) แต่โดยรวมแล้ว การทำงานก็ยังคงคล้ายๆกัน” Mike ทำงานที่ Wecoworking ที่เมือง Alicante ประเทศ Spain มาเป็นเวลาแค่ 1 เดือน เขาบอกว่าเหล่าพนักงานอำนวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือดี และถึงแม้จะมีขนาดเล็กกว่า แต่ก็เหมาะสำหรับการเป็นพื้นที่สำหรับตั้งใจทำงานดังที่เขาหวังไว้ เขายังเสริมอีกด้วยว่าเขาสนุกกับการพักผ่อนที่นานกว่ากับการเดินเล่นบนชายหาดที่มีความยาว 7 กิโลเมตรที่ห่างออกไปไม่กี่ก้าวจากประตู!
ทั้ง Jimmi และ Larry พบกว่า coworking space ที่พวกเขาทำงานนั้นมีขนาดเล็กกว่าพอสมควร แต่ที่โตเกียวนั้น ถึงแม้ว่าขนาดจะเล็กกว่า แต่ก็มีจำนวนที่มากกว่า “ผมคิดว่ามันอาจจะเป็นเพราะมีความอลุ่มอล่วยทางกฏหมายเกี่ยวกับการเปิดร้านค้านะ อย่าง coworking space ที่ผมเจอเนี่ย บางที่ก็แปลงมาจากร้านซ่อมรถ อยู่ชั้นบนร้านอาหาร อยู่ข้างๆสตูดิโออัดเสียง อยู่ชั้นใต้ดินของทางเดินเงียบๆ และอยู่บนชั้น 7 ของอาคารการค้า เหมือนว่าถ้าเป็นอเมริกา มันอาจจะยากกว่าต่อการเปิดพื้นที่ทำงาน เพราะว่าต้องผ่านกระบวนการเอกสาร ออกใบอนุญาต จ่ายภาษี และอะไรอีกหลายๆอย่าง แต่นั่นก็เป็นการคาดการณ์ของผมนะ”
:::
เครือข่ายสังคม coworking
GOODCoworking เข้าใจถึงความสำคัญของการแสดงออกทางสังคมและข้อดีของการได้อ่านประสบการณ์ coworking ของคนอื่นเมื่อคุณต้องการจะหา coworking space ที่ไกลบ้านคุณ GOODCoworking เปิดตัวเมื่อเดือนตุลาคม 2012 โดยมี Matthias Wiemann เป็นผู้ก่อตั้ง ไม่ว่าคุณกำลังทำงานอยู่ใน coworking space หรือกำลังมองหาที่ใหม่ GOODCoworking เป็นเว็บที่ช่วยคุณหา coworking space ทั่วโลกและให้คุณได้แชร์เรื่องราวว่าทำไมคุณถึงรักการ coworking เรื่องราวทั้งหมดจะถูกแสดงบนหน้าข้อมูลของแต่ละ coworking space ทำให้คนอื่นสามารถอ่านรีวิวและส่งข้อความสอบถามเพิ่มเติมถึงผู้รีวิวได้อีกด้วย
Copass ก็กำลังพัฒนาระบบเพื่อรองรับ workspace ทั่วโลก โดยการเชื่อม coworking space เป็นพันๆมาในเว็บเดียว ให้ทุกคนสามารถเที่ยวได้รอบโลกและทำงานได้จาก coworking space หลายๆที่ เพียงแค่สมัครสมาชิกกับ Copass! Copass เกิดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง Stefano Borghi ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง cowo360 ที่โรม และ Eric van den Broek ผู้ร่วมก่อนตั้ง Mutinerie Coworking ที่ปารีส ตอนนี้ทั้งคู่กำลังพัฒนาระบบ Beta ก่อน ทั้ง Eric และ Stefano ต่างก็เป็นผู้ที่เชื่อในการ coworking อยู่แล้ว และก็เชื่อว่าถ้ายิ่งมีคนเห็นค่าในระบบ coworking มากเท่าไหร่ จำนวน coworking space ก็จะพุ่งขึ้นอย่างแน่นอน พวกเขาวางแผนไว้ว่าจะเสนอรูปแบบสมาชิกรายปี และมี CoPass card สำหรับสมาชิกเพื่อรับส่วนลดรอบโลกจาก coworking space ที่อยู่ในเครือข่ายของ Copass
ด้วยเป้าหมายเดียวกันที่จะสร้างเครือข่ายของ coworking space LEXC หรือ The League of Extraordinary Coworking Spaces แบบ Loyalty program แห่งแรกของประเทศอเมริกา LEXC มี coworking space เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 14 ที่ทั่วอเมริกาและตัวเลขก็ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 6 ที่ที่ร่วมกันก่อตั้ง LEXC นั้น ได้แก่ Nextspace ที่ San Francisco และ Los Angeles, BLANKSPACES ที่ Los Angeles, Link Coworking ที่ Austin, Workbar ที่ Boston, CoCo coworking and collaborative space ที่ Minneapolis และ St. Paul และ 654 Croswell ที่ Grand Rapids
ใครก็ตามที่เป็นสมาชิกของ coworking space ที่เข้าร่วม LEXC จะได้สิทธิพิเศษมากมายและส่วนลดสำหรับ coworking space อื่นๆที่อยู่ในเครือข่ายของ LEXC ความตั้งใจหลักคือการสร้างกลุ่มสำหรับเจ้าของ coworking space ที่ตั้งใจจะเติบโตในสังคมการ coworking ที่ใหญ่ขึ้นและร่วมแชร์ประสบการณ์กับที่อื่นที่มีความคิดคล้ายๆกัน