การทำงานที่บ้านลงตัวเหมาะเจาะสำหรับบางคน พวกเขาบอกว่าทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย แต่สำหรับคนส่วนมากที่ทำงานจากบ้าน นี่อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักเมื่อดูจากผลการสำรวจชิ้นใหม่นี้ นอกจากผลสำรวจจะแสดงให้เห็นว่า 4 ใน 10 คนที่ทำงานที่บ้าน มีปัญหาเรื่องไม่มีสมาธิ และอีก 60% มีปัญหาเรื่องคนในบ้านทำให้เสียสมาธิ
ทั้งหมดนี่ยังท้าทายไม่พอ ผู้ร่วมสำรวจ 1 ใน 5 รายงานว่าพวกเขามีปัญหาเรื่องนั่งผิดท่าซึ่งมาจากการจัดที่นั่งที่ไม่ดีพอใน ‘ออฟฟิศที่ตั้งขึ้นมาเอง’ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บเรื้อรัง นอกจากความเสี่ยงเรื่องสุขภาพแล้ว 1 ใน 3 ของผู้ร่วมการสำรวจที่ทำงานที่บ้านบอกว่าไม่พอใจกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็น มืออาชีพและไม่มีอุปกรณ์สำนักงานที่เหมาะสมใช้ หลายคนเสียสมาธิเพราะเสียงกริ่งประตู เครื่องซักผ้าหรือเครื่องล้างจาน (คลิกรูปบนเพื่อดูผลการสำรวจเพิ่มเติม)
ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถทำงานแบบมืออาชีพได้ เมื่อทำงานที่บ้าน :::
การสำรวจนี้ทำโดย Mindmetre โดยได้รับมอบหมายจาก Regus และมีผู้ร่วมทำการสำรวจทั้งหมด 24,000 คน จากธุรกิจทั้งขนาดใหญ่ กลางและเล็กในทั้งหมด 90 ประเทศ ผลสำรวจหลายชิ้นยังช่วยยืนยันผลการสำรวจ coworking ทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมาของเราอีกด้วย
“แม้ว่าคนนิยมการทำงานจากบ้านมากขึ้น แต่ยิ่งมีคนลองทำงานจากที่บ้านจำนวนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเห็นชัดเลยว่ามันมีข้อด้อยมากขนาดไหน” Michael Barth ซีอีโอ Regus เยอรมนี กล่าว ”การทำงานที่บ้านที่มีทุกอย่างพร้อมแบบมืออาชีพไม่ได้ทำได้ง่ายๆเสมอไป”
“ยังมีรายงานเพิ่มเติมจากผลสำรวจว่าคนที่ทำงานจากบ้านจะรู้สึกแปลกแยกและต้องทน กับการไม่ได้เจอผู้คน ซึ่งเป็นอะไรที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันทั่วไป ในสภาพการทำงานที่ยืดหยุ่นและมีคนใช้บริการมากหน้าหลายตาช่วยให้มีโอกาสเจอ เพื่อใหม่มากขึ้น”
การเจอเพื่อนใหม่เกิดขึ้นเป็นประจำที่ coworking spaces ที่ Deskmag เรารู้สึกดีใจที่หลายท่านจาก Regus ตามอ่านนิตยสารออนไลน์ของเราเป็นระยะๆด้วย แต่จากผลสำรวจนั้น การทำงานที่บ้านไม่ได้สำคัญเท่าไหร่ แต่สำคัญตรงที่ว่าคุณทำงานที่บ้านบ่อยแค่ไหน สมาชิก กว่า 90% ของ coworking space ก็ยังทำงานที่บ้านบ้างบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำที่บ้านเป็นหลักอีกต่อไป ผลก็คือมีสมาธิทำงานมากขึ้นและรู้สึกแปลกแยกน้อยลง
หน้าต่อไป
>> Regus: Coworking spaces ‘ล้าสมัย’ ไปแล้ว
::: Regus: Coworking spaces ‘ล้าสมัย’ ไปแล้ว :::
มีการถกเถียงว่าอะไรบ้างที่นับและไม่นับว่าเป็น coworking space อยู่บ่อยครั้ง แต่ Regus เลือกหยิบข้อคิดเห็นหนึ่งจากการถกเถียงที่ซ้ำซากและน่าเหนื่อยหน่ายนี้ พวกเขานิยาม coworking space ว่าเป็นสิ่งที่ ’ล้าสมัย’ เมื่อ “คนแบบเดียวกันหลายๆคนแชร์พื้นที่และเครื่องใช้ด้วยกัน” หากพวกเขา “เกี่ยวข้องกับยุคดอทคอม(และ)ธุรกิจทีเกี่ยวกับเทคโนโลยี” และมี “จำนวนสถานที่จำกัดซึ่งไม่ใช่ที่ที่ใครอยากมาทำงาน"
ในทางกลับกันพวกเขานิยามการทำงานร่วมกัน (coworking) ว่าเป็น “เครือข่ายการให้บริการพื้นที่ทำงานระดับโลก ในบรรยากาศที่เป็นมืออาชีพและมีประเภทงานหลากหลายให้เลือก” บริษัทที่มีศูนย์ธุรกิจอยู่ 1,200 แห่งทั่วโลกนี้ กำลังพูดอ้อมๆถึงตัวเองอยู่นั่นเอง
อย่างไร ก็ตาม coworking space ที่ ’ล้าสมัย’ ทั้ง 2,000 แห่งก็มีบรรยากาศการทำงานที่มีความเป็นมืออาชีพสูงและมีสถานที่ทำงานหลาก หลายเช่นกัน ถึงแม้ไม่ได้ดำเนินการใต้บริษัทหรือแบรนด์เดียวกัน
แย่หน่อย ที่การประเมินนี้มีข้อผิดพลาดอยู่อย่างน้อย 3 แห่ง :
ข้อแรก “coworking” ไม่ได้หมายถึงแค่สถานที่หรือจำนวน แต่เป็นการตั้งคำถามว่าคนเราเต็มใจทำงานด้วยกันได้หรือไม่ coworking อยู่บนพื้นฐานของความเชื่อใจและความรู้สึกดีดีมากกว่าใบสัญญาหรือคำสั่ง
ข้อสอง เหตุผลที่มีคนที่ ’มีความคิดคล้ายๆกัน’ มาทำงานที่ coworking space ก็เพราะคนเหล่านี้มักมีรสนิยมในการเลือกวิถีการทำงานและสิ่งที่สถานที่ทำงาน ควรมีที่คล้ายกัน ถ้าเป็นคุณ จะอยากทำงานกับคนที่คุณไม่ชอบไหมล่ะ? นี่ก็เลยทำให้ coworking space ต่างๆที่มีกลุ่มคน เป้าหมายและวิธีการทำงานที่หลากหลายต่างกันไป
Regus กล่าวในทางตรงกันข้าม โดยมุ่งความสนใจหลักไปที่สถานที่ทำงานแบบมาตรฐานที่พนักงานบริษัทมักใช้กันเป็นหลัก ซึ่งไม่สามารถเลือกเพื่อนร่วมงานได้ และก็เหมือนกับบริษัทอื่นๆที่ Regus ต้องทำตัวดูน่าดึงดูดสำหรับลูกค้า ซึ่งก็คือบริษัทอื่นโดยดึงพนักงานจากบริษัทพวกนี้ ยิ่งบริษัทมีขนาดใหญ่เท่าไหร่ บรรยากาศการทำงานก็ยิ่งเป็นไปในแบบที่ผู้บริการระดับสูงและ/หรือคนส่วนใหญ่พอใจมากเท่านั้น
นี่คือเหตุผลที่ถึงมีการเข้าใจผิดว่า “coworking มีไว้เพื่อบริษัทใหญ่ๆ” แม้ว่าทั้งสองมีการสื่อสารกันบ้างและพอมีความเป็นไปบ้างที่จะมารวมกัน แต่หากมองถึงแก่น บริษัทใหญ่ๆไม่สามารถดำเนินการแบบ coworking ได้ และถ้าทำได้จริงๆ ก็คงไม่ใช่เป็นบริษัทในความหมายที่เคยเข้าใจกัน บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทของพนักงานโดยให้อิสระมากขึ้น และสิทธิที่เท่าเทียม ทำเหมือนพวกเขาเป็นผู้ร่วมหุ้นแทนที่จะเป็นลูกจ้าง
ข้อสาม เมื่อปีที่เราเคยรายงานแล้วว่า coworking space และ ศูนย์ธุรกิจไม่ได้แข่งขันกันแต่อย่างใด กลุ่มเป้าหมายของทั้งสองอาจเหลื่อมกัน แต่ก็นิดหน่อยเท่านั้น แฟนๆทั้ง 2 ที่ทำงานนี้ไม่ต้องกังวล สมาชิกและลูกค้าไม่ได้สนใจชื่อเรียกมากเท่าไหร่ เพราะบริการและข้อเสนอนั้นสำคัญกว่า ทั้ง coworking space และศูนย์ธุรกิจต้องจำกัดความตนเองและมีข้อเสนอให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของลูกค้า
::: มีชื่อเรียกเพิ่มขึ้นไม่ได้แปลว่าคุณค่าลดลง :::
การไม่หาคำนิยามที่เหมาะสมอาจต้องพึ่งการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์เพราะแทบหา นิยามไม่ได้จริงๆ ลองคิดดูว่าถ้าคุณสำรวจห้องสมุดที่มีในเมือง แต่ไม่ใช่แค่ห้องสมุดที่มีหนังสือมากมาย แต่ยังมีร้านหนังสือ ร้านออนไลน์หรือจากเพื่อน คุณจะตรวจสอบได้ยังไง นิยามคำว่า ‘ห้องสมุด’ จากข้อจำกัดที่มี ให้เข้าใจแจ่มแจ้ง จับต้องได้
นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงจำเป็นต้องแยกระหว่าง coworking space, ร้านกาแฟ, ห้องสมุด และศูนย์ธุรกิจ นี่เป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างสถานที่เหล่านีแต่ก็ไม่ได้เป็นการลบหลู่หรือลดคุณค่าของสถานที่อื่นๆ นอกจากนี้ ก็ยังมีร้านกาแฟ ห้องสมุด และ coworking space ที่ทั้งดีและไม่ดีเหมือนกัน นอกเหนือจากบทวิจารณ์นี้แล้ว เราเพียงต้องการสะท้อนความคิดเห็นของผู้ใช้บริการแต่ละคนเท่านั้น
แต่อย่างไร เราก็เห็นด้วยกับ Regus อยู่อย่างว่า : “สิ่งที่น่ากังวลคือเกือบ 1 ใน 5 ของผู้เข้าร่วมที่ทำงานจากที่บ้านมีปัญหาเรื่องท่านั่งเนื่องจากอุปกรณ์ ไม่มีคุณภาพ” หัวหน้าศูนย์ Regus เยอรมนีกล่าว โอเค เก้าอี้ที่นั่งสบายและปรับได้เป็นส่วนสำคัญสำหรับที่ทำงานที่ดี!