Yardi Kube: A single connected platform for flexible workspace management
Yardi Kube

By Amanda Gray and Rémy Cagnol - มิถุนายน 10, 2556

Space แต่ละที่ที่เราได้ไปพูดคุยมานั้นต่างก็บอกกับเราเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาตั้งใจที่สร้าง coworking space ขึ้นมาเพราะว่าในเมืองที่พวกเขาอยู่นั้นยังขาดสถานที่ทำงานที่ตอบสนองรูปแบบการทำงานแบบ coworking และเป็นอีกหนึ่งช่องทางเพื่อช่วยส่งเสริมนักประกอบการในเมืองนั้นๆ ทุกๆที่ต่างก็เห็นด้วยว่าจุดเริ่มต้นสำคัญของการก่อตั้ง coworking space นั้นเริ่มมาจากวงแคบๆก่อน แล้วค่อยกระจายตัวกลายเป็นสังคม coworking  การเปิดให้กลุ่มลูกค้าเข้าคลาสเรียนพิเศษ เข้าร่วมโปรเจกต์หรือ meetups ต่างๆ ก็มักจะเป็นบ่อเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างดี คนส่วนมากนั้นดูท่าทางจะชอบ space ที่ไม่ใช่แค่พื้นที่ทำงาน แต่มีความเป็นสังคมที่มีความร่วมมือให้แก่กันและกัน

:::

WorkDistrict ใน Washington D.C. เปิดให้บริิการไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา Deskmag ได้คุยกับหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Paul Ballas เกี่ยวกับประสบการณ์การเปิด space และแผนสำหรับอนาคต สำหรับ Ballas และผู้ร่วมก่อตั้งอีกสองคน Patick Menasco และ Lauren Icard ต่างก็มีงานประจำอยู่แล้ว Menasco มีอาชีพเป็นทนายความ ส่วน Icard นั้นอยู่ในแวดวงการแพทย์และสุขภาพ แต่เมื่อทั้งสามคนมารวมตัวกัน ก็ทำให้เกิดความหลากหลายในการวางแผน space ของพวกเขา

Ballas บอกกับ Deskmag ว่า ตัวเขาเองกับ Menasco นั้นไม่เคยเป็นสมาชิกของ coworking space มาก่อน เราก็เลยอยากรู้ว่าอะไรดึงดูดให้พวกเขามาร่วมแจมกันในโปรเจกต์นี้ Menasco นั้นเล็งเห็น D.C. ยังไม่ค่อยมี coworking space ที่รวบรวมทั้งสังคมและธุรกิจ และในขณะเดียวกัน เหล่าผู้ก่อตั้ง WorkDistrict เองก็รู้จัก coworking space จริงๆเพียงแค่สองที่ในเมืองนี้เท่านั้น ในส่วนของพื้นที่ทำงานนั้น Ballas บอกว่ามีร้านกาแฟอยู่หลายแห่งแต่ก็ยังขาดบรรยากาศของการเป็นสังคมทำงานและมักจะมีผู้ใช้ Wi-Fi มากเกินไป

เรายังได้พูดคุยกับผู้ก่อตั้ง Pun Space หรือ “ปัน” space - coworking space น้องใหม่ในเมืองเชียงใหม่ เราถามพวกเขาว่าทำไมถึงคิดริเริ่มสร้าง coworking space ในบ้านเกิดของพวกเขาแทนที่จะเลือกทำเลในเมืองที่ใหญ่กว่า “เราเคยทำงานแบบ coworking ในกรุงเทพและก็ชอบมันนะ” คุณ Euam และ Vichaya กล่าว พวกเขาทั้งสองเป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด Vichaya นั้นย้ายมาทำงานที่กรุงเทพทั้งหมด 8 ปี และตัดสินใจที่จะนำรูปแบบการทำงานแบบสังคม coworking กลับบ้านเกิดที่เชียงใหม่

ถึงแม้ Pun Space จะไม่ใช่ "coworking space" แห่งเดียวในเชียงใหม่ แต่คุณเอื้อมและคุณวิชญ ศิริสันธนะ ก็อธิบายว่า “จริงๆแล้วที่เชียงใหม่ก็มีหลายๆที่นะที่เรียกตัวเองว่า coworking space แต่ส่วนมากจะเป็นในรูปแบบร้านกาแฟบวกโต๊ะทำงานซะมากกว่า” และด้วยความตั้งใจที่จะทำให้ออกมาเต็มรูปแบบ ทั้งสองจึงได้ตั้งใจออกแบบพื้นที่เพื่อสังคม coworking เหมาะสำหรับการสร้างความสัมพันธ์เชิงธุรกิจและมิตรภาพ และยังเหมาะกับการจัดงาน meetups และคอร์สความรู้อื่นๆอีกด้วย ทั้ง คุณเอื้อมและคุณวิชญต่างก็มีอาชีพเป็น Programmer ดังนั้น พวกเขาเองก็มีทักษะที่พร้อมจะช่วยเหลือเหล่าชาว coworkers เช่นกัน

:::

ไม่ต้องรอแรงสนับสนุน.. อยากทำก็ทำเลย!

ผู้ก่อตั้งทั้ง 7 ของ Cowork in Grenoble ที่เพิ่งทำการเปิดตัวไปเมื่อกุมภาพันธ์ที่แล้ว ต่างก็เล็งเห็นว่าเมืองพวกเขานั้นยังขาดพื้นที่ทำงานสำหรับ startups และฟรีแลนซ์ และตามแบบฉบับของวัฒนธรรมชาวฝรั่งเศสแล้ว เมื่อใดก็ตามที่เราเห็นว่าเมืองนั้นกำลังขาดหายอะไรอยู่ เราก็มักจะได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชน แต่ด้วยความที่เมือง Grenoble นั้นเทความสนใจไปอยู่ที่บริษัทเกี่ยวกับการพัฒนาเชิงเทคโนโลยีและ Biotechnology ซะส่วนใหญ่ ทำให้บริษัทเล็กๆในด้านอื่นนั้นประสพปัญหาในการได้รับแรงสนับสนุน “เอาเป็นว่า งานนี้เราได้ศัตรูติดไม้ติดมือมาแน่ๆ” Mathieu Genty (ผู้ร่วมก่อตั้ง Cowork in Grenoble) กล่าวติดตลกไว้

Cowork in Grenoble ได้ทำการติดต่อกับสังคมในเมืองและได้ผลตอบรับอย่างดีแทบประเมินค่าไม่ได้ระหว่างที่พวกเขากำลังก่อร่างสร้างตัว Mathieu เล่าว่าพวกเขาสร้างและตกแต่ง space ด้วยมือของพวกเขาเอง และยังได้รับการช่วยเหลือจากผู้ที่สนใจอีกด้วย อย่างเช่น สถาปนิกที่ได้ยินถึงโปรเจกต์นี้ ก็อาสามาช่วยดีไซน์ coworking space ให้

Rana - coworking space ในเมือง Valladolid ประเทศสเปนที่เพิ่งเปิดไปเมื่อกุมภาพันธ์นั้น ก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความคิดแนว DIY เช่นเดียวกัน ไอเดียเริ่มแรกนั้นเป็นเพียงแค่เพื่อนสี่คนที่เพิ่งเปิดบริษัทและกำลังหาผู้ประกอบการคนอื่นๆมาแชร์ออฟฟิศด้วย ในตอนแรก ไม่มีใครสนใจที่จะเข้าร่วมเลยและในขณะเดียวกันก็เป็นช่วงที่แรงสนับสนุนและความช่วยเหลือเพื่อผู้ประกอบการในประเทศสเปนนั้นค่อนข้างนิ่งและเงียบงัน “เรารู้เลยว่าถ้าเราอยากจะทำให้มันเป็นจริงได้ เราจะต้องลงมือด้วยตัวเอง” Victor Alonso หนึ่งในผู้ก่อตั้งกล่าว “เราไม่ได้เรียนทุกอย่างจากมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนหรอก เราเรียนกันผ่านอินเตอร์เน็ตและก็ยังเรียนอยู่ทุกวันนี้ และครั้งนี้ก็เช่นกัน เราได้เรียนถึงวิธีการสร้าง coworking space”

โชคดีสำหรับ Ballas และ Menasco จาก WorkDistrict ที่พวกเขาไม่ค่อยมีปัญหาในช่วงเริ่มต้นซักเท่าไหร่ เพราะพวกเขาทั้งสองต่างก็มีความเกี่ยวข้องในสังคม coworking ของพวกเขาอยู่แล้ว “ผมมีเส้นสายในวงการ tech อยู่แล้ว” อธิบาย Ballas และเมื่อพวกเขาเริ่มทำการติดต่อและขยายเครือข่าย พวกเขาก็เริ่มจัดอีเวนท์เพื่อโปรโมท coworking space ของพวกเขา “Space อื่นๆมีเครือข่ายน้อยกว่านะ แถมที่ของพวกเราก็อยู่ใจกลางเมือง เราอยู่ในเขตที่มีประชากรอยู่เยอะ ซึ่งทำให้สะดวกขึ้นเพราะพวกเขาจะได้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง”

เนื่องจาก Ballas และผู้ร่วมก่อตั้งของเขานั้นมีความเกี่ยวข้องกับวงการ tech เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เราเลยอยากรู้ว่าพวกเขาเจาะจงหาสมาชิกแบบไหนเป็นพิเศษหรือเปล่า “เราก็อยากได้คนที่มาร่วมแก๊งค์กันได้น่ะแหละ คนที่มีความเป็นนักประดิษฐ์และศิลปินหน่อย” จริงๆแล้วพวกเขาก็เปิดกว้างให้กับทุกคนนะ แต่สิ่งดีอย่างนึงเกี่ยวกับการ coworking นั้นก็คือการหาสังคมการทำงานที่ตอบสนองความต้องการของคุณ ดูท่าแล้ว WorkDistrict ก็กำลังเดินถูกทางแล้วในการพัฒนาสังคม coworking ที่ดี

>> หน้าถัดไป : ในวันที่ประตูเปิด


ในวันที่ประตูเปิด

“หลายๆคนตื่นเต้นมากและบอกเราเสมอว่าพวกเขารักที่นี่” Ballas กล่าว และเมื่อพูดถึงความท้าทายของการเปิด coworking space ใหม่นั้น Ballas บอกกับเราว่า “มันก็เหมือนกับการจะซื้อรถน่ะแหละ” และการจะให้คนมาสมัครสมาชิกนั้นก็ไม่ง่ายเสมอไป WorkDistrict บอกกับ Deskmag ว่ามีคนเป็นร้อยๆมาเยี่ยมที่นี่ และส่วนมากที่มาสมัครสมาชิกจะเป็นบริษัทเล็กๆ เพราะพวกเขามักจะต้องการที่ๆสามารถร่วมมือกับคนอื่นและขยายเครือข่ายในเวลาเดียวกัน

ที่ Cowork in Grenoble เองก็ได้สร้างความสนใจไม่น้อยแม้จะเพิ่งเปิดตัวได้ไม่กี่อาทิตย์ เริ่มด้วย coworkers และอีกหนึ่ง startup ที่กำลังจะเปิดตัวเร็วๆนี้ “เราไม่ได้วางแผนมันซะด้วยซ้ำ ทุกอย่างมาเองโดยธรรมชาติ เราคุยกับผู้ประกอบการคนนึงและเสนอให้เขาเริ่มเปิดคอร์สโดยไม่คิดเงิน เขาตกใจมากเมื่อเห็นสปิริตของ coworkers” Mathieu กล่าว

Pun Space ก็เพิ่งเปิดตัวที่เชียงใหม่เมื่อไม่นานมานี้ และถึงแม้จะเป็นน้องใหม่ คุณเอื้อมและคุณวิชญบอกกับ Deskmag ว่า หลายๆคนต่างก็ตื่นเต้นกับ coworking space แห่งใหม่นี้ และมีสมาชิกเข้ามาอย่างไม่ขาดสายตั้งแต่เริ่มเปิดประตูกันเลยทีเดียว

ตอนที่เราสัมภาษณ์ Rana นั้น ที่นี่เพิ่งเปิดตัวไปได้ 10 วัน Alonso บอกว่ามีผู้ประกอบการเข้ามาเยี่ยมเยียน space ของพวกเขาประมาณห้าคนต่อวัน ซึ่งถือว่าเยอะเลยทีเดียวเมื่อเทียบกับจำนวน 10 โต๊ะของที่นี่ ผู้ก่อตั้งของ Rana อยากให้ที่นี่เป็นพื้นที่สำหรับทุกคนเพื่อสร้างธุรกิจของตัวเองบนโครงสร้างแบบ coworking และพวกเขาไม่อยากมองว่า space นี้เป็นธุรกิจ “Rana เป็นพื้นที่ของเราและเราอยากแชร์กับผู้ประกอบการคนอื่นๆ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องตั้งใจเลือกสมาชิกและพยายามหลีกเลี่ยงผู้ประกอบการที่ทำด้านเดียวกันเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขัน” Alonso อธิบาย

:::

แล้วอนาคตล่ะ?

สำหรับอนาคต WorkDistrict ก็วางแผนไว้เรียบร้อยแล้วว่าจะเปิดโรงเรียนสอน Code ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ดีมากสำหรับนักพัฒนาทุกรูปแบบ พวกเขาอยากเปิดคลาสเพื่อสำหรับทั้งคนในแวดวง tech และคนทั่วไปที่ต้องการเพิ่มทักษะ และในระหว่างที่พวกเขากำลังมองหาพื้นที่สำหรับเปิดโรงเรียนนั้น พวกเขาก็วางแผนว่าจะเปิดคลาสเล็กๆที่ coworking space ของพวกเขาไปพลางๆก่อน

Cowork in Grenoble นั้นวางเป้าหมายที่จะจัดงานอีเวนท์อย่างแน่นเอียดเพื่อที่จะได้กลายเป็นแรงผลักดันแห่งวงการ startup อย่างเต็มตัว ลำดับต่อไปของพวกเขานั้นก็คือการเอื้ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการด้วยเครื่องมือและวิชาความรู้ที่พวกเขาไม่สามารถหาเรียนได้แต่จำเป็นต้องใช้ในสายวิชาชีพ

ตอนนี้ Rana กำลังทำการโปรโมท coworking space และกำลังวางแผนที่ชัดเจนของพวกเขาอยู่ และเนื่องด้วยที่นี่มีพื้นที่ค่อนข้างใหญ่ พวกเขาอยากให้ที่นี่มีบรรยากาศแบบสนุกสนานและครึกครื้นอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

สุดท้ายนี้ ถ้าคุณอยากเปลี่ยนบรรยากาศไปอยู่เชียงใหม่บ้าง ลองแวะไปเยี่ยมชม Pun Space สิ ที่นี่มี 28 โต๊ะและ private office เพื่อเตรียมรองรับทุกคนที่อยากจะสร้างและสานต่อธุรกิจของตัวเอง

ssfCoworking Trends Survey

Startpage