coworking ดูจะตอบสนองการเรียนรู้ของเด็กสมัยนี้ได้เหมาะที่สุด ในฐานะเจ้าของกิจการในอนาคต มหาวิทยาลัยบางแห่งเริ่มจับมือกับ coworking space เพื่อสร้าง space ของตัวเอง อย่างเช่น H4 และ Kosilab ส่วน space อื่นๆ อย่าง Geekdom และ the Betamore Reno Collective ก็กลายเป็นคอมมิวนิตี้ตัวแทนแหล่งความรู้และความก้าวหน้าที่ทันโลกสมัยใหม่ ซึ่งหาไม่ได้จากมหาวิทยาลัย
:::
Coworking space ดูเหมือนจะมีเพื่อวัยเรียนจริงๆ หลายครั้งที่เราเห็นนักเรียนนั่งทำงานตามร้านกาแฟ ห้องสมุดและที่ที่มีอินเทอร์เน็ตกันเต็มไปหมด
Space Skylight Phoenix ถึงกับโฆษณากับพ่อแม่ผู้ปกครองว่า “สมัครสมาชิกที่ space เป็นของขวัญให้ลูกๆ วันนี้ เพื่ออนาคตเจ้าของธุรกิจและนักวิชาการที่สดใสในวันหน้า”
- นั่งทำงานในที่ที่ไม่พลุกพล่าน
- ทำงานติดต่อกันนานๆได้ ไม่ขาดตอน
- ได้เรียนรู้การทำธุรกิจของตนเอง
- ได้ประสบการณ์ตรงจากมืออาชีพ
- นำทฤษฎีที่เรียนมาลงมือทำจริงๆ
- ทำงานในบรรยากาศการทำงานที่เป็นแรงบันดาลใจ
- มีโอกาสได้ฝึกงานและทำงานจริง
ข้อดี จาก coworking space เหล่านี้อาจช่วยส่งให้มีเทคโนโลยีใหม่และความคิดสร้างสรรค์ในรั้วมหาวิทยาลัยมากขึ้น แต่มหาวิทยาลัยเองก็ต้องลงมือสร้างเองด้วยเหมือนกัน
:::
มหาวิทยาลัยเริ่มสนุกกับ coworking
มหาวิทยาลัยบางแห่งอย่าง North Carolina H4 หรือ Kosilab Siegen จัด coworking space ให้นักศึกษาที่ลงเรียนซัมเมอร์ไว้ใช้ โดยทั้งสองแห่งเน้นการทำงานร่วมกันในหมู่นักศึกษาเป็นหลัก ที่ H4 เน้นจัดงานอีเว้นท์และให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงโดยมืออาชีพ ในวงการ Kosilab ก็เหมือนกัน เพราะความสำเร็จของนักศึกษาคือเป้าหมายหลักของ space ทั้ง 2 ที่ และที่ริเริ่มโครงการนี้ขึ้นมา ก็มาจากคำแนะนำจากรุ่นใหญ่ในวงการนี่เอง
ห้องสมุดหลายแห่งมีนักศึกษานั่งทำงานกันเต็มไปหมด แต่ coworking space ก็ยังเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ อย่างที่เกิดขึ้นในเมือง Dresden ห้องสมุด SLUB ของมหาวิทยาลัย Technical University of Dresden มีคนมาใช้บริการเพิ่มขึ้นทุกปี จนที่นั่งและห้องอ่านหนังสือไม่พอใช้ SLUB เลยจับมือกับ coworking space ใกล้ๆมหาวิทยาลัยชื่อ Neonworx ในปี 2011 โดยทุกๆ 3 เดือนจะให้นักเรียน 15 ลองไปนั่งทำงานที่นั่น และใช้ห้องสมุดดิจิตอลได้ด้วย
แต่ถึงบางมหาวิทยาลัยจะมี space ให้ไปนั่งทำงานใกล้ๆ ก็ยังหากลุ่มคนเก่งๆ นอกเหนือจากคนที่ทำงานที่นั่นไม่ได้อยู่ดี
>> เมื่อต้องเรียนที่ Coworking space แทนมหาวิทยาลัย
Coworking space ฝึกนักศึกษาให้ทำงานเป็น
Coworking space มีจุดเด่นที่การเป็นคอมมิวนิตี้ความรู้จากหลากหลายสาขา ที่ Reynolds School of Journalism (RSJ) และ Reno Collective space ในรัฐ Nevada จับมือกันกับ coworking space เพื่อเปิดคอร์สให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากสมาชิกของ space โดยตรง นี่เป็นตัวอย่างการร่วมมือที่ยอดเยี่ยมของ 2 coworking spaces เพราะครูสอนทั้งนักศึกษาและที่ coworking space ได้ด้วยคณบดีที่ Reynolds School of Journalism เคยให้สัมภาษณ์กับ Reno Collective space ว่า "เราหวังว่าไฟและความเชี่ยวชาญของ Reno Collective จะช่วยให้คณะของเรามีความคิดสร้างสรรค์และเป็นไปในทางธุรกิจมากขึ้น"
ที่ Space ของ NTI’s Leeds ในแคมปัสมหาวิทยาลัย Leeds Metropolitan University มีคอร์ส 3 เดือนสำหรับนักศึกษาที่สนใจเป็นเจ้าของธุรกิจด้านดิจิตอลเทคโนโลยี พอจบคอร์ส นักเรียนจะได้ส่วนลด ถ้าต้องการทำงานใน coworking space และฝึกงานไปด้วย หลายคนสนใจโปรแกรมนี้มากเพราะไม่ใช่แค่เหมาะกับคนที่ฝันอยากทำธุรกิจของตัวเอง แต่สำหรับคนที่อยากทำงานใน coworking space ด้วย นักศึกษาจะมีที่ปรึกษาช่วยเหลือในการโปรเจ็กต์งาน แต่นักศึกษาก็ควรเข้าร่วมงานอีเว้นท์ต่างๆเพื่อทำความรู้จักกับคนอื่นๆในสาย อาชีพนั้นด้วยตัวเองเหมือนกัน
การที่มหาวิทยาลัยกับ coworking space ร่วมมือกันเป็นอะไรที่ลงตัวมากเพราะทั้งสองฝ่ายมีเป้าหมายเดียวกัน แต่ในสมัยนี้ที่อินเทอร์เน็ตตอบโจทย์ได้ทุกอย่าง ทำให้มหาวิทยาลัยเริ่มลดบทบาทลงไปในด้านการให้คำปรึกษา
:::
เมื่อต้องเรียนที่ Coworking space แทนมหาวิทยาลัย
Coworking space Geekdom ในเมือง San Antonio รัฐ Texas เปิดให้บริการเมื่อเดือนกันยายน 2012 ที่นี่มีโปรแกรมการสอนชื่อ SparkEd และมีคนรุ่นใหม่กว่า 1,500 คนมาเข้าแคมป์ 30 "Weekend Camps" ของที่นี่ นอกจากนี้ ปีหน้ายังมีอีกประมาณ 5,000 คนมาลงชื่อทำงานไว้ที่ Geekdom ที่นี่ทำงานร่วมกับโรงเรียนในพื้นที่ สอนวิชาการออกแบบเว็บไซต์ เขียนโปรแกรม หุ่นยนต์ศาสตร์และการเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัวที่วิทยาลัยเอกชนด้วย
Nick Longo ผู้ร่วมก่อตั้ง Geekdom เคยให้สัมภาษณ์ว่า “มหาวิทยาลัยทุกแห่ง, โรงเรียนมัธยมปลายและมัธยมต้นส่วนใหญ่มาหาเราเพื่อร่วมโครงการ "SparkEd" เพราะโรงเรียนรู้ว่าไม่สามารถตอบโจทย์การเรียนรู้ในยุคนี้ได้และเราช่วยทำหน้าที่แทนพวกเขา ยุคนี้ การให้คำปรึกษาคือการเรียนรูปแบบใหม่ อย่างถ้าเด็กอยากเป็นนักพัฒนาโปรแกรม ผมสอนภาษา Ruby หรือ Python ให้ไม่กี่เดือน อายุ 18 ก็ทำงานมีรายได้ $50,000 to $75,000 หรือประมาณ 1,487,390- 2,231,090 บาท ต่อปีได้แล้ว”
อันที่จริงคอมมิวนิตี้ใน coworking space สามารถแปลงเป็นมหาวิทยาลัยหรือแคมปัสในอีกรูปแบบก็ยังได้ ก่อน General Assembly จะเป็นบริษัทการเรียนรู้อย่างเต็มรูปแบบทางด้านเทคโนโลยี ธุรกิจและการออกแบบอย่างทุกวันนี้ ที่นี่ก็เคยเป็น coworking space มาก่อน ขนาดผู้ก่อตั้งเองยังเคยพูดไว้ว่า “มีครู (จากระบบการศึกษาแบบเดิม) ซักกี่คนที่มีเวลาทำงานในด้านที่ตัวเองสอนจริงๆ?”
อีกตัวอย่างหนึ่งคงหนีไม่พ้น space ชื่อ Betamore ที่ Baltimore รัฐ Maryland ซึ่งกลายมาเป็นแคมปัสสำหรับเจ้าของธุรกิจและแวดวงเทคโนโลยี โดยมีเป้าหมายต้องการเติมพลังสมองให้เมืองนี้มีความรู้หลากหลายผ่านทางการ ศึกษา เขียนโปรแกรม การเงิน การกฎหมายและการออกแบบ ที่ Betamore มีหลักสูตรโดดเด่นไม่เหมือนใคร คนไหนที่สนใจก็มาลงเรียนได้เลย คนที่มาเรียนมีทั้งสมาชิกของ coworking space เอง นักลงทุน พนักงานทั่วไปและนักศึกษาฝึกงาน Betamore เองยังแพลนไว้ว่าในอนาคตอยากจะมีประกาศนียบัตรให้หลังเรียนจบแล้วด้วย
:::
เรื่องอะไร ของใคร...มาปรึกษาเราได้
ความร่วมมืออย่างเปิดเผยระหว่างมหาวิทยาลัยและ coworking space อาจเป็นการสร้างแนวทางให้เกิดห้องเรียนรูปแบบใหม่ในอนาคตข้างหน้า อย่างที่ Skillshare ที่เป็นแหล่งรวมผู้เชี่ยวชาญหลายๆด้านได้จับมือกับ spaces ต่างๆเช่น Hiveat55 และ CoComsp และจัดให้มีห้องเรียนต่างๆใน coworking space เดียวกัน
หากเข้าถึงผู้ใช้บริการได้มากพอ แม้แต่นักศึกษาก็สามารถมาสอนแบ่งปันความรู้ให้กับ coworkers ได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความเป็นครูและนักเรียนจะไม่ตายตัวอีกต่อไป ยิ่งมีการพัฒนาด้าน “การแบ่งปันทางสังคม” ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่าการได้แบ่งปันความรู้ให้คนอื่นนั้นให้ประโยชน์จริงๆ coworking space ไม่ได้แค่เปลี่ยนทิศทางการทำงานของคนยุคนี้เท่านั้น แต่เปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ใหม่ด้วย